พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

พุทธมามกะ คือ ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน หรือ   การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ หมายถึง การประกาศตนของผู้แสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นของตนการปฏิญาณตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาสามารถทำได้หลายครั้งได้ ตั้งแต่เด็ก ถึงโตเป็นผู้ใหญ่

ความเป็นมา

เมื่อความนิยมในการบวชสามเณรลดลง พร้อมกับการส่งเด็กไปเรียนในต่างประเทศมากขึ้น  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่  ๕)  ทรงพระราชปริวิตกว่า  เด็กๆจักไม่มีความรู้สึกที่ดีต่อพระพุทธศาสนา จึงโปรดให้พระโอรสของพระองค์ทรงปฏิญาณพระองค์เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาก่อน  และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่  ๖)  ได้เป็นพระ องค์แรกที่ปฏิญาณพระองค์ตามธรรมเนียมที่ทรงตั้งขึ้นใหม่นั้น  และใช้เป็นราชประเพณีต่อมาอีกหลายพระองค์  เช่น  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า จุมพฎพงศ์บริพัตร  พระโอรสสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิตกับหม่อมเจ้าองค์อื่นๆก่อนจะไปศึกษาในยุโรปก็ได้แสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะก่อน  เป็นต้น โดยเหตุนี้  จึงเกิดเป็นประเพณีนิยมแสดงตนเป็นพุทธมามกะขึ้นสืบต่อกันมา   ในปัจจุบัน  ความนิยมแสดงตนเป็นพุทธมามกะของชาวพุทธไทย  สามารถสรุปได้  ดังนี้

๑.     เมื่อบุตรหลานของตนรู้เดียงสาเจริญวัยอยู่ในระหว่าง  ๑๒ – ๑๕  ปี  ก็ประกอบพิธีให้บุตรหลานได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ  เพื่อให้เด็กสืบความเป็นชาวพุทธตามตระกูลต่อไป

๒.     เมื่อจะส่งบุตรหลานไปเรียนยังต่างประเทศที่มิใช่ดินแดนของพระพุทธศาสนา

๓.     เมื่อจะปลูกฝังนิสัยของเยาวชนให้มั่นคงในพระพุทธศาสนาส่วนมากทางโรงเรียนจะเป็นผู้จัดทำพิธีกรรม  อาจจะเป็นปีละครั้ง

เมื่อมีบุคคลต่างศาสนาเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาต้องการจะประกาศตน เป็นชาวพุทธ

IMG_6843_resize

IMG_6858_resize

IMG_6780_resizeIMG_6551_resize

ระเบียบพิธี

นิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย  ๕  รูป  เข้าพระอุโบสถ  หรือศาลาหรือสถานที่ที่เหมาะสมแล้วคณะผู้ปฏิญาณตนนั่งพร้อมกันหน้าพระสงฆ์ผู้แทนจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย  (ถ้านั่งกับพื้นพึงนั่งคุกเข่า  ถ้านั่งบนเก้าอี้  ให้ยืน  ประนมมือ)  แล้วกล่าวคำบูชาตามผู้นำ  ดังนี้

——————–******************——————–

ในลําดับต่อจากนี้ไป,ขอให้ทุกคน เตรียมกาย, วาจา ใจ ให้เรียบร้อย, เพื่อเข้าสู่พิธีอันศักดิ์สิทธิ์,คือการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ (หยุดสักครู่) ท่านทั้งหลาย,พระพุทธศาสนา,เป็นศาสนาที่ประเสริฐยิ่ง,พวกเราทั้งหลาย, ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชน, ควรอย่างยิ่ง, ที่จะร่วมกันสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา,
ด้วยการศึกษา, และปฏิบัติตามพระธรรมคําสั่งสอน, ขององค์สมเด็จพระชินวรสัมมาสัมพุทธเจ้า,ผู้เป็นบรมครูของเทวดา,และมนุษย์ทั้งหลาย,
ต่อไปนี้ , ขอให้เพื่อนๆ นักเรียนชายทุกคนนั่งในท่าเทพบุตร และเพื่อนนักเรียนหญิงทุกคน, นั่งในท่าท่าเทพธิดา,(หยุดสักครู่) และขอให้เพื่อนทุกคน,
กล่าวตามข้าพเจ้า ดังนี้,

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง ปูเชมะ
ข้าพเจ้าทั้งหลายบูชาพระพุทธเจ้าด้วยเครื่องสักการะนี้

อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง ปูเชมะ
ข้าพเจ้าทั้งหลายบูชาพระธรรมด้วยเครื่องสักการะนี้

อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง ปูเชมะ
ข้าพเจ้าทั้งหลายบูชาพระสงฆ์ด้วยเครื่องสักการะนี้

———-

นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น  (ว่า  ๓  จบ)

———-

เพื่อน ๆ ทั้งหลาย, บุญเกิดที่จิต, ความศักดิ์สิทธิ์เกิดที่ใจ, ขอให้เพื่อน ๆ ทุกคนตั้งใจ, กล่าวตามข้าพเจ้าดังน

———-

 เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัญจะ สังฆัญจะฯ พุทธะมามะโกติ (หญิงว่า : พุทธะมามิกาติ) มัง สังโฆ ธาเรตุฯ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอถึงผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  แม้เสด็จปรินิพพานนานแล้ว

ทั้งพระธรรม  และพระสงฆ์เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ  ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าทั้งหลายไว้ว่าเป็นพุทธมามกะ

เป็นผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน  คือผู้นับถือพระพุทธเจ้า

จะยึดมั่นในพระพุทธศาสนาตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปตลอดชีวิต.

———-

พระสงฆ์ทั้งนั้นประนมมือรับ  “สาธุ”  พร้อมกัน

จากนั้นผู้ปฏิญาณตนนั่งประนมมือฟังโอวาทจากพระสงฆ์  หลังจากจบโอวาทแล้วผู้แทนนำกล่าวคำอาราธนาศีล

มะยัง  ภันเต,  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ,  ติสะระเณนะ  สะหะ,ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ .
ทุติยัมปิ  มะยัง  ภันเต,  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ,  ติสะระเณนะสะหะ,  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ.
ตะติยัมปิ  มะยัง  ภันเต,  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ,ติสะระเณนะสะหะ,  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ.

จากนั้นประธานสงฆ์จะเป็นผู้ให้ศีล ผู้ปฏิญาณว่าตาม ดังนี้
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ.

ประธานสงฆ์ว่า  “ยะมะหัง  วะทามิ,  ตัง  วะเทหิ”  ผู้ปฏิญาณรับว่า  “อามะ  ภันเต”
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ธังมัง สะระณัง คัจฉามิ.
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ ธังมัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ  สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ.

ประธานสงฆ์ว่า  “ติสะระณะคะมะนัง  นิฏฐตัง”  ผูปฏิญาณรับว่า  “อามะ  ภันเต”
ปาณาติปาตา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณีสิกขาปะทังสะมาทิยามิ
อิมานิ  ปัญจะ  สิกขาปะทานิ  สะมาทิยามิ  (๓  หน)

และประธานสงฆ์จะบอกอานิสงส์ของศีลต่อไปว่า
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ  นิพพุติง  ยันติ  ตัสมา  สีลัง  วิโสธะเยฯ

(บทนี้  ผู้ปฏิญาณไม่ต้องว่าตาม,  พอท่านว่าจบแล้วให้กราบ  ๓  ครั้ง)

ลำดับจากนี้  ถ้ามีเครื่องไทยธรรม  พึงนำเครื่องไทยธรรมมาถวายพระสงฆ์

เสร็จแล้วพระสงฆ์อนุโมทนา  ผู้ปฏิญาณกรวดน้ำรับพรเสร็จแล้วกราบพระสงฆ์  ๓  ครั้ง

เป็นอันเสร็จพิธี…………